วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีสี


1.แม่สีและความเป็นมาของแม่สี

สี ในงานศิลปะที่เราใช้กันนั้น โดยมากมักเป็นสีประเภทสำเร็จรูป กล่าวคือเมื่อเปิดขวดขึ้นมาก็สามารถนำมาใช้ได้ทันที จนทำให้เราขาดทักษะความรู้ด้านการผสมสีให้ได้มาซึ่งสีในรูปแบบต่างๆ นับแต่อดีตกาล มนุษย์เรารู้จักการใช้สีในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆรอบๆตัว เช่นว่า การนำเอาสีของยางไม้ไปเขียนตามผนังถ้ำทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจศิลปินสมัย ก่อนๆเห็นว่าเรื่องของสีเป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้การ สร้างสรรค์งานศิลปะในยุคก่อนไม่ค่อยคำนึงถึงกฏเกณฑืหรือหลักการเท่าไรนัก ในยุคโบราณสีที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการเขียนภาพ ไม่ได้ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ได้จากการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ ธรรมชาติมาทำให้เกิดสีเช่น สีแดง ได้จากยางไม้ ดินแดง หรือหินสีมาบดหรือแม้บางครั้งก็นำมาจากเลือดของสัตว์ สีขาวได้จากดินขาว สีดำได้จากการนำเอาเข่มาจากก้นภาชนะมาละลายน้ำ สีครามได้จากดอกไม้บางชนิด สีเหลืองได้จากดินเหลืองหรือยางรงซึ่งในยุคนั้นไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ในการเขียนภาพแต่มักจำนำสีที่ได้มาใช้ในการย้อมผ้าแต่ทั้ง นี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ วิถีทางวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติว่านิยมหรือมีวิธีในการสร้างสรรค์อย่างไรเช่นชาวจีนไม่ค่อยนิยมที่จะเขียนภาพด้วยสี เท่าไรนัก แต่กลับนิยมเขียนภาพด้วยหมึกดำส่วนชนชาติไทยเรานิยมใช้หลายสีแต่ไม่มากนัก เพราะสีที่หาได้จะมีจำนวนจำกัดเท่าที่หาได้จากธรรมชาติ ได้แก่สีดำ สีขาว สีแดง และเหลืองภาพเขียนเก่าแก่ของไทยจากกรุปรางค์ทิศวัดมหาธาตุอยุธยา กรุปรางค์ใหญ่วัดมหาธาตุ ราชบุรี(น. ณ ปากน้ำ:1) ต่อมาในยุคหลังๆที่มี
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีการคิดค้นและผลิตสีต่างๆออกมามากมาย หลายชนิด ทำให้การใช้สีนั้นกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากเพราะว่าคู่สีบางคู่มี ความสดและเข้มพอๆกัน ทำให้เข้ากันไม่ได้เกิดความขัดแย้งและไม่เหมาะสม ขาดความนุ่มนวล ดังนั้นผู้เรียนจึงควรรู้จักหลักเกณฑ์ในการ รู้กฏเกณฑ์ในการใช้สีพอสมควร จึงจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะดูสวยงามและมีคุณค่า
แม่สีในยุคปัจจุบัน อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ


1.1.แม่สีจิตวิทยา
แม่สีจิตวิทยา เป็นสีในกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก และมีผลต่อจิตใจของมนุษย์ กล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน






1.2. แม่สีวิทยาศาสตร์
แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด สีเขียวมรกต และสีม่วง






1.3. แม่สีศิลปะ
แม่ สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมาก มายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน








แม่สีศิลปะประกอบด้วย สี แดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อนำแม่สีทั้งสามมาผสมกันในอัตราส่วนต่างๆก็จะเกิดสีขึ้นมามากมาย ซึ่งประโยชน์ จากการที่เรานำสีมาผสมกันทำให้เรา สามารถเลือกสีต่างๆมาใช้ได้ตามความพอใจ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่งดงามตามความพอใจขอผู้สร้าง สีที่เกิดจากการนำเอาแม่สีมา ผสมกัน เกิดสีใหม่เมื่อนำมาจัดเรียงอย่างเป็นระบบ รวมเรียกว่าวงจรสี








ภาพแสดงวงจรของสีที่เกิดจากการนำแม่สีมาผสมกัน
การเกิดสีดังภาพ เกิดจากการนำเอาแม่สีมาผสมกัน ในอัตราส่วนต่างๆกันซึ่งพอสรุปได้ดังนี้


สีขั้นที่1 (สีขั้นต้นหือแม่สี)(Primary Color) ประกอบด้วย สี แดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน






สีขั้นที่ 2 (Binary Color) เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่ 1 (แม่สี ) มาผสมในอัตราส่วนเท่าๆกันประกอบด้วยสี เขียว สีส้ม และสีม่วง


สีเขียว-เกิดจากการนำเอา สีเหลือง กับ สีน้ำเงิน มาผสมกันในอัตราส่วนเท่าๆกัน
สีส้ม-เกิดจากการนำเอา สีเหลือง กับ สีแดง มาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน
สีม่วง-เกิดจากการนำเอา สีน้ำเงิน กับ สีแดง มาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน


สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color) เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่ 2 ผสมกับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้เคียงกันได้สีแตกต่างออกไป ได้แก่ สีเหลืองแกมเขียว สีน้ำเงินแกมม่วง สีแดงแกมม่วง สีแดงแกมส้ม สีเหลืองแกมส้ม และสีน้ำเงินแกมเขียว


สีเหลืองแกมเขียว เกิดจาก การผสมกันระหว่างสีเหลืองกับสีเขียวอย่างละเท่าๆกัน






สีน้ำเงินแกมม่วง เกิดจากการผสมกันระหว่างสีน้ำเงินกับสีม่วงอย่างละเท่าๆกัน






สีแดงแกมม่วง เกิดจากการผสมกันระหว่างสีแดงกับสีม่วงอย่างละเท่าๆกัน






สีแดงแกมส้ม เกิดจากการผสมกันระหว่างสีแดงกับสีส้มอย่างละเท่าๆกัน




สีเหลืองแกมส้ม เกิดจากการผสมกันระหว่างสีเหลืองกับสีส้มอย่างละเท่าๆกัน




สีน้ำเงินแกมเขียวเกิดจากการผสมกันระหว่างสีน้ำเงินกับสีเขียวอย่างละเท่าๆกัน






วรรณะของสี 
จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่อง แม่สี ในกลุ่มต่างๆ และเรื่องวงจรสีมาแล้ว รวมทั้งได้ทำกิจกรรมต่างๆ คงพอทำให้มีพื้นฐานทางการใช้สีในงานศิลปะแต่ทราบหรือไม่ว่าสีที่นักเรียนผสมออกมาทั้ง 12 สีนั้น สามารถแยกออกเป็นสองกลุ่มตามค่าความเข้มของสี หรือที่เรียกว่าวรรณะของสี (Tone of color) วรรณะของสีก็คือ ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูง เสียงต่ำ ที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกหรือรันทดใจ


สีที่อยู่ในวรรณะร้อน(warm tone color)ได้แก่ สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง และสีม่วงแดง






สีที่อยู่ในวรรณะเย็น(cool tone color)ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า สีม่วงคราม






สี ทั้งสองวรรณะอาจจะไม่ใช่สีที่สดดั่งเช่นในวงจรสี เพราะความจริงแล้วในธรรมชาติยังมีสีที่แตกต่างไปจากในวงจรสีอีกมากมาย ให้อนุมานว่าสีใดที่ค่อนไปทางสีแดง หรือสีส้มให้ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน ส่วนสีที่ค่อนไปทางน้ำเงิน เขียวให้อนุมาว่าเป็นวรรณะเย็น ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต้องให้สีหลายสีในภาพอย่างอิสระ และผู้เขียนสามารถใช้สีให้เกิดความกลมกลืนเป็นอย่างดีจนชำนาญ จะเห็นว่าเรื่องของวรรณะของสีนั้นเข้ามามีบทบาทในภาพเขียนเสมอ กล่าวคือโทนสีของภาพจะแสดงงออกไปทางใดทางหนึ่งของวรรณะสีเสมอ นั่นคือองค์ประกอบหนึ่งที่จะนับได้ว่าเป็นภาพเขียนที่ดี คือเมื่อเขียนภาพโทนเย็นก็มักจะเอาสีในวรรณะเย็นมาใช้เป็นส่วนมาก ส่วนภาพที่เป็นโทนร้อน ก็จะนำสีในวรรณะร้อนมาใช้มากเช่นกัน ในวรรณะของสีแต่ละฝ่ายยังสามารถแยกออก เป็นอีก 2 ระยะคือ ร้อนอย่างรุนแรง หรือเข้มข้น คือแสดงออกถึงความรุนแรงของโทนสีในภาพที่มีผลต่ออารมณ์ของผู้ชมอย่างแรงและร้อนอย่างเบาบาง คือให้ความรู้สึกที่ไม่ร้อนแรงมากอย่างประเภทแรก ใช้โทนสีที่ร้อนแต่ไม่รุนแรง
ภาพ เขียนที่ใช้โทนสีหรือวรรณะของสีเข้ามาเกี่ยวข้องมักแสดงความรู้สึกและอารมณ์ ในภาพ เช่นวรรณะเย็นให้ควารมรู้สึก เศร้า สงบ ราบเรียบ ส่วนวรรณะร้อนให้ความรู้สึกรื่รเริง เจิดจ้า และความขัดแย้งขึ้นอยู่กับอารมณ์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรผู้สร้างมีอารมณ์ใดในขณะนั้นก็มักแสดงออกมาถึงโทนสีและความรู้สึก ในภาพเขียนเช่น ปิคัสโซ่ (จิตรกรชาวเสปญ เกิดที่เมือง Malage เมื่อปี ค.ศ.1881) ซึ่งเมื่อขณะที่เขาเป็นหนุมมีความรักมักสร้างผลงานในวรรณะร้อนค่อนไปทางชมพู ส่วนในช่วงที่เขาทุกระทมภาพเขียนเขาจะใช้สีในวรรณะเย็นค่อนไปทางน้ำเงินรวมทั้งศิลปินต่างๆในประเทศไทยเราก็สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยใช้ความรู้ เรื่องวรรณะของสีไปใช้ในการสร้างสรรค์เช่นเดียวกัน


ตัวอย่างภาพจิตรกรรมที่ใช้สี วรระเย็น 




ตัวอย่างภาพจิตกรรมที่ใช้สี วรรณะร้อน




หลักในการใช้ความรู้เรื่องวรรณะของสีในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
ในการส้รางสรรค์งานศิลปะโดยมากเรามักจะเน้นโทนสีของภาพออกไปในทางวรรณะใดวรรณะ หนึ่งเป็นหลักอยู่แล้ว แต่บางครั้งเราสามารถนำเอาสีทั้งสองวรรณะมาไว้ในภาพเดียวกันได้ เพียงแต่รู้หลักในการนำมาใช้ กล่าวคือหากจะนำสีทั้งสองวรรณะมาไว้ในภาพเดียวกัน ถ้าเราใช้สีวรรณะร้อนที่มีเปอร์เซ็นต์มากกว่า ตั้งแต่ 70 ถึง 80 เปอร์เซ้นต์ของภาพแล้วใช้สีวรรณะเย็นเพียงเพียง 30 หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ ผลของภาพนั้นก็ยังเป็นภาพวรรณะร้อน (warm tone) ดังนั้นการจะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในวรรณะเย็นหรือร้อนไม่จำเป็นต้องใช้สีใน วรรณะร้อนหรือเย็นเพียงอย่างเดียว เราสามารถเอาสีต่างวรรณะมาผสมผสานกันได้แต่คุมปริมาณให้อยู่ในวรรณะใด วรรณะหนึ่งในปริมาณที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น